ไปสำรวจ Nepenthes suratensis

ผมเริ่มต้นการสำรวจในรอบนี้วันที่ 16 มกราคม 2554 โดยเริ่มต้นที่จ.สุราษฎร์ธานี ผมแวะพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองสุราษฎร์ เพื่อพบกับ Marcello Catalano เพื่อนผู้ร่วมอุดมการณ์ของผม ซึ่งมาถึงก่อนผมยังไม่ข้ามคืน ก่อนหน้าที่เราจะพบกัน เค้าเดินทางไปสำรวจ N. kampotiana ที่จ.ตราด และมีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย คือ เขาได้พบสถานที่ใหม่ ๆ สำหรับ N. kampotiana และข่าวร้ายคือ แต่ละที่ที่พบ มีปริมาณต้นอยู่น้อยมาก ซึ่งกลายเป็นปัญหาสำหรับการอนุรักษ์ของพวกเรา ผมได้รับกิ่งที่ เชลโล ได้ตัดมาให้กับผมชำ เพื่อโอกาสหน้าเราจะนำกลับไปปลูกในป่าธรรมชาติ เพื่อเพิ่มจำนวนในอนาคต น่าเสียดายที่รอบนี้เขาไปไม่พบฝักที่แก่พอที่จะเก็บเมล็ดมาเพาะ หวังว่าเราจะโชคดีในวันพรุ่งนี้

     เช้าวันต่อมา หลังจากหาอะไรทานรองท้องในมื้อเช้า เราก็ออกเดินทางตามข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่เรามี ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง ในการหาข้อมูลเพิ่มเติม จากคนในพื้นที่ เราก็ได้พบ พวกมัน ในบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าเตี้ย ๆ มีต้นไม้พุ่มขึ้นไม่มากนัก ลักษณะเป็นป่าละเมาะโปร่ง ๆ  ที่ต้นไม้ไม่สูงมากนัก

ชนิดนี้ขึ้นอยู่ที่พื้น ในทุ่งหญ้า

ในบริเวณนี้มีเพียง N. suratensis เพียงชนิดเดียว บริเวณรอบข้าง ล้อมรอบไปด้วยป่ายาง และป่าปาล์ม

มาดูหม้อกันดีกว่า ว่าสีสันสวยงามขนาดไหน

สีแดงสดมาก หม้อล่างสวย ๆ แม้จะเข้าหน้าแล้งแล้ว หม้อก็ยังคงเหลือความสดอยู่

มีอยู่เยอะจริง ๆ

 

ดูหม้ออ้วน ๆ บ้าง

หม้อล่างขนาดใหญ่ที่เราพบในทุ่งนั้น

มาดูหม้อบนกันบ้าง suratensis นั้นพบในป่าที่ต้นไม้ไม่สูงมากนัก ดังน้นมันจึงมีลำต้นเลื้อยที่ไม่ยาวมากนักเช่นเดียวกัน

หม้อบนก็มีทั้งสีสด ๆ และสีซีด ๆ

ดูดอกและเมล็ดกันหน่อย

ซูม ๆ ดูหน่อย

โชคดีมาก ที่สถานที่บริเวณนี้เป็นที่ดินของส่วนราชการ จึงไม่มีการทำการเกษตรใด ๆ ไม่อย่างนั้นคงจะสูญพันธ์เหมือนกับบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเต็มไปด้วยสวนยาง และสวนปาล์ม

     ในวันนั้นเราได้เก็บเมล็ดมาจำนวนหนึ่ง และจำนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์และแจกจ่ายให้กับผู้ที่สนใจต่อไปครับ

โพสท์ใน หม้อข้าวหม้อแกงลิงในธรรมชาติ | ใส่ความเห็น

N. mirabilis ที่สระมรกต อุทยานแห่งชาติเขาประ-บางคราม จ.กระบี่

วันสงกรานต์ที่ผ่านมา ผมไปเยี่ยมบ้านน้องชายที่สุราษฏร์ฯ แล้วครอบครัวของพวกเราได้ไปเที่ยว ที่จ.กระบี่ โดยเข้าไปเล่นน้ำที่สระมรกต ในอุทยานแห่งชาติเขาประ-บางคราม ระหว่างทางเดินชมธรรมชาติ ได้พบเห็น N. mirabilis บริเวณริมลำธาร จึงถ่ายรูปมาฝากกัน

กอเล็ก ๆ ที่มีหม้อล่างสีสันสดใส

 DSCF2484

หม้อบนสีเขียวอ่อน

DSCF2471

ต้นนี้ขึ้นในที่แล้ง ค่อนข้างแดดร้อน ใบเป็นสีเหลือง และไม่มีหม้อเลยสักหม้อเดียว

DSCF2472

กอนี้อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่อยู่ใต้ทางเดิน ใบจึงดูเขียวสดใสมากกว่า และได้เห็นหม้อเกือบทุกใบ

DSCF2473

หม้อบน ขนาดใหญ่ของต้นที่สูงเกือบ 4 เมตร

DSCF2478

กอนี้อยู่ใกล้ ๆ กัน ต้นค่อนข้างใหญ่ แม้ว่าจะอยู่ในที่ร่ม

DSCF2479

ต้นนี้เลื้อยขึ้นไปสูงเกือบ 5 เมตร ระหว่างต้นไม้ใหญ่

DSCF2481

ต้นนี้อยู่ริม โดนแดดมาก ใบเหลืองใหม้และดูเหมือนเป็นโรค

DSCF2482 

ฝากกัน แค่นี้ก่อนครับ ไว้คราวหน้า จะเอาอะไรมาฝาก คอยติดตามกันครับ

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

N. smilesii บนภูคิ้ง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ

ท่านใดต้องการอ่านเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางเชิญอ่านที่ครับ

http://trongtham.spaces.live.com/blog/cns!E1BF28D8280B1300!2006.entry

ส่วนบล๊อกนี้ผมจะเก็บเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงเท่านั้นนะครับ

สำหรับภูคิ้ง ที่นี่มีหม้อข้าวหม้อแกงลิง N. smilesii ซึ่งภาษาถิ่นที่นี่เรียกว่า “บั้งเต้าแล่ง” อันมีความหมายว่า กระบอกน้ำที่มีน้ำในหน้าแล้ง บริเวณยอดภูที่พบ มี 2 ที่ด้วยกัน หนึ่งคือ แหลหินเงิบ ซึ่งอยู่ห่างจากยอดภูคิ้งประมาณ 3 กม. ภูมิประเทศบริเวณนี้ เป็นทุ่งหญ้าสะวันน่า บริเวณขอบผามีความสูงกว่า และลาดลงช่วงกลางของที่ราบ ซึ่งมีลำธารเล็ก ๆ ไหลให้ความชุ่มชื้น แต่บริเวณที่หม้อข้าวหม้อแกงลิงอยู่นั้น เป็นบริเวณซึ่งโล่งแจ้ง พื้นดินทรายค่อนข้างแห้ง ปะปนด้วยลานหินและก้อนหินขนาดใหญ่ มีไม้พุ่มขึ้นประปราย ที่พบมากจะเป็น ผักเม็ก และ ม้ากระทืบโรง ปะปนกับหญ้าเพ็ก หยาดน้ำค้าง ฯลฯ

ลองมาดูความหลากหลายของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่นี่กันดีกว่า

ลำต้น

Picture 075 Picture 076 Picture 080Picture 106 Picture 104 Picture 114Picture 115 Picture 092 Picture 093 

หม้อล่าง

Picture 072 Picture 073 Picture 083 Picture 084

Picture 116Picture 078 Picture 088 Picture 089 Picture 095

Picture 113 Picture 111

หม้อบน

Picture 074 Picture 077 Picture 079 Picture 085

Picture 086 Picture 091 Picture 087 Picture 094

Picture 098 Picture 097 Picture 103

ดอก

Picture 082 Picture 101 Picture 112   

และที่นี่ ผมได้สังเกตเห็น อาณาจักรสัตว์ผู้อาศัย Infuana คือ แมงมุมชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ภายในหม้อ และกินซากเหยื่อที่หม้อจับได้อีกทีหนึ่ง

 Picture 090 Picture 096 Picture 117

บริเวณที่ 2 ที่พบ คือ แหลหินจ้อง หรือ ลานหินตั้ง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานภูคิ้งเพียง 500 ม. บริเวณนี้ มีลำธารขนาดใหญ่ไหลผ่าน ทำให้ดูมีความชุ่มชื้นมากกว่า แต่ส่วนที่อยู่ห่างจากลำธารก็ดูแห้งแล้งบ้างเหมือนกัน

ลำต้นทรงพุ่ม

  Picture 173 Picture 174 Picture 160

หม้อล่าง บริเวณนี้ มีสีสันสดใสกว่า โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้ลำธาร

 Picture 180 Picture 201 Picture 206 Picture 200

หม้อก้ำกึ่ง Intermediate

 Picture 170 Picture 176 Picture 165 Picture 171

 Picture 162 Picture 163 Picture 177 Picture 175

 Picture 159 Picture 166 Picture 161 Picture 172

หม้อบน

 Picture 169 Picture 164 Picture 178 Picture 208

 Picture 182 Picture 183 Picture 207 Picture 179

Picture 205 Picture 199 

ดอกเพศเมีย ซึ่งกำลังแตกฝัก เยอะมาก ๆ

Picture 167 Picture 168 Picture 157 Picture 158      

บริเวณนี้ ผมก็สังเกตเห็นแมงมุมซึ่อาศัยในหม้อเช่นเดียวกัน

Picture 198    

และช่วงเช้า ดูจะเป็นเวลาอาหาร เพราะจะเห็นได้ว่ามีมดจำนวนมากมาตอมหม้อในช่วงนี้ พอแดดแรงแล้วมันคงจะร้อนเกินไปสำหรับพวกมด

 Picture 203  Picture 202

สำหรับภูคิ้งแล้วก็เป็นอีกที่หนึ่งที่มีหม้อข้าวหม้อแกงลิง N. smilesii จำนวนมาก แต่เมื่อเทียบกับความลำบากในการเดินทางแล้ว ถ้าใครอยากศึกษา ผมแนะนำที่ภูกระดึง หรือทุ่งโนนสนจะสะดวกกว่าครับ เพราะสำหรับผมเองก็ขอยอมรับว่า มาที่นี่ครั้งแรก และคงจะเป็นครั้งเดียว เข็ดแล้วครับ เหนื่อยจริง ๆ แล้วพบกันใหม่นะครับ ตอนหน้า ผมจะพาทุกท่านไปดูหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากทางภาคใต้บ้างล่ะ จะเป็นที่ใดบ้าง เตรียมตัวติดตามกันได้เลยครับ

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

สำรวจหม้อข้าวหม้อแกงลิงและหยาดน้ำค้าง ณ ทุ่งโนนสน อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง N. smilesii on Tung Non-Son

 Picture 092 

“ทุ่งโนนสน” เป็นเป้าหมายของผมตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ที่ผมตั้งใจจะไปสำรวจ แต่โดยความไม่รู้ว่าทุ่งแห่งนี้ เปิดให้เข้าชมเพียงชั่วระยะเวลา 3 เดือน คือตั้งแต่ฤดูฝน จนถึงต้นฤดูหนาว เนื่องจากระยะทางในการเดินเท้าค่อนข้างไกล และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านบน หากไม่ขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว จะไม่มีดอกไม้ให้ชม เป็นประการแรก ประการที่ 2 น้ำกินน้ำใช้จะขาดแคลน เพราะบนทุ่งดังกล่าว ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ ต้องใช้น้ำจากลำธาร ซึ่งจะไหลจากตาน้ำบริเวณเนินเขา กลางทุ่ง และในช่วงฤดูแล้ง น้ำซับก็จะแห้ง ทำให้ไม่มีน้ำให้ใช้กัน เอาล่ะครับ ไหน ๆ ก็ขึ้นไปแล้ว ก็นำภาพมาให้ชมกันเลยดีกว่า ความยากลำบากเป็นอย่างไร ไปหาอ่านได้ที่ space ของ trongtham@hotmail.com ซึ่งจะเล่าถึงรายละเอียดการเดินทางอีกที

สำหรับหม้อข้าวหม้อแกงลิงประจำถิ่นของที่นี่ ก็คือ Nepenthes smilesii ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ที่พบได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แทบจะทุกแห่งที่มีที่ราบสูง หรือพื้นราบบนยอดภู ยอดดอย เช่น ภูกระดึง ภูลังกา ภูผาเหล็ก ผาแต้ม เป็นต้น ซึ่ง ทุ่งโนนสน ของอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ถือเป็น บริเวณที่อยู่ทางตะวันตกสุดที่พบชนิดพันธุ์นี้

 Picture 100 

N. smilesii ที่ทุ่งโนนสนแห่งนี้ เจริญเติบโต บนทุ่งหญ้าเพ็ก ท่ามกลางป่าสนโล่ง ๆ พื้นดินเป็นดินทรายที่เกิดจากการกัดกร่อนของหินทราย และมีน้ำซึมไหลผ่าน ทำให้พื้นดินชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เหมือนกับเป็นบึงน้ำตื้น ๆ บนยอดภูเขา การเจริญเติบโต ก็มักงอกจากพื้นดินเป็นพุ่ม เล็กบ้างใหญ่บ้าง ขึ้นอยู่กับอายุของแต่ละกอ บางกอ เจริญเติบโตได้ดี จนมีขนาดใหญ่ทับถม กันจนหญ้าเพ็กไม่สามารถเจริญเติบโตแข่งได้ มีบ้างที่อิงอาศัย กับพุ่มไม้เตี้ย ๆ ในทุ่งเหล่านั้น

 Picture 104

Picture 081

หม้อล่างของ N. smilesii ที่นี่มีลักษณะค่อนข้างยาว ก้นหม้อทรงกระเปาะ มีจำนวนไม่มากนักที่หม้อมีสัณฐานค่อนข้างกลม สีพื้นของหม้อเป็นสีเขียวอ่อน มีจุดประค่อนข้างเลือน สีส้มแดงกระจายโดยทั่วไป ฝาหม้อมีสีเดียวกับตัวหม้อ ปากหม้อมีสีค่อนข้างส้มแดง มีจำนวนไม่มากที่ปากหม้อเป็นสีเขียว หรือสีแดงสด ขอบปากหม้อค่อนข้างบาง

Picture 105 

Picture 085 

Picture 086

Picture 087

Picture 089

Picture 088 

หม้อบน สีเขียวเหลือง ทรงกระบอกไปจนถึงทรงกรวย ครีบหดเล็กลง เหลือเพียงแนวเส้นมีสีเข้ม ตัดกับสีพื้นของหม้ออย่างชัดเจน ฝาหม้อสีเดียวกับหม้อ หรือเจือสีแดงเล็กน้อย เมื่อหม้อแก่อาจมีจุดประสีแดงเกิดขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากแดดเผา

Picture 099

Picture 082

Picture 083

Picture 084 

Picture 101  

Picture 091 

ดอกที่พบมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในปริมาณที่ใกล้เคียงกันมาก ทำให้มีการขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี

Picture 090 Picture 103 

นอกจากนั้น ในบริเวณดังกล่าว จะพบ จอกบ่อวายและหญ้าน้ำค้าง ซึ่งเป็นไม้กินแมลงอีก 2 ชนิดในบริเวณเดียวกัน ได้แก่

Drosera burmanii หรือ ภาษาท้องถิ่นว่า “จอกบ่อวาย” หมายถึง ถ้วยที่ไม่เคยแห้งนั่นเอง

Picture 075

Picture 094

Picture 095

Picture 097

Picture 102 

และ Drosera indica  หรือ “หญ้าน้ำค้าง” ซึ่งทั้ง 2 ชนิดมีขนาดเล็ก แต่เมื่อถ่ายในระยะใกล้ เห็นหยดน้ำเล็ก ๆ ก็ดูสวยงามมาก

Picture 074  

พืชในกลุ่มหยาดน้ำค้าง drosera เป็นไม้กินแมลง ที่มีวิธีการดักจับแมลงที่แตกต่างจากหม้อข้าวหม้อแกงลิง โดย หยาดน้ำค้างจะผลิตน้ำหวานซึ่งมีเมือกเหนียวบริเวณปลายขนรอบ ๆ ใบ เมื่อแมลงเข้ามาตอมน้ำหวานก็จะติดกับเมือกเหนียวเหล่านั้น และไม่สามารถหนีออกไปได้อย่างทันท่วงที เมื่อขนสัมผัสรับความรู้สึกได้ว่าเหยื่อมาติดกับแล้ว ต้นหยาดน้ำค้างก็จะค่อย ๆ ม้วนใบเข้าหาตัวเพื่อรัดเหยื่อให้แน่น แล้วจึงค่อยปล่อยเอ็นไซม์สำหรับการย่อย ออกมาย่อยสลายและดูดซึมสารอาหารเข้าไปเลี้ยงลำต้นต่อไป ซึ่งวิธีการคล้ายคลึงกับการจับแมลง ของ ต้นกาบหอยแครง เพราะเป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่มีการวิวัฒนาการที่แตกต่างกันมาหลายล้านปี

สรุป ทุ่งโนนสนถือเป็นสวรรค์ของคนรักหม้อข้าวหม้อแกงลิงอีกแห่งหนึ่ง หากท่านมีเวลาไปเที่ยวชม ท่านสามารถเดินชม และถ่ายรูปได้เกือบทั้งวัน ซึ่งหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่นี่อยู่ในทุ่งโล่ง ซึ่งเดินชมได้ง่าย ไม่กระจัดกระจาย และอยู่ในพื้นที่ไม่กว้างใหญ่มากนัก แต่มีปริมาณหนาแน่น เที่ยวชมได้จนอิ่มตา อิ่มใจมากครับ

โพสท์ใน หม้อข้าวหม้อแกงลิงในธรรมชาติ | ใส่ความเห็น

Nepenthes mirabilis

Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce

Rep. Exch. Cl. Br. Isl. (1916): 637.

ชื่อพ้อง: N. albolineata F.M. Bailey, N. aliciae F.M. Bailey, N. armbrustae F.M. Bailey, N. beccariana Macfarl., N. bernaysii F.M. Bailey,                    N. cholmondeleyi F.M. Bailey, N. fimbriata Blume, N. garrawayae F.M. Bailey, N. jardinei F.M. Bailey, N. kennedyana F. Muell., N. kennedyi Benth., N. macrostachya Blume, N. moorei F.M. Bailey, N. obrieniana Linden & Rodrigas, N. pascoensis F.M. Bailey, N. rowanae F.M. Bailey, N. tubulosa Macfarl.

ชื่อไทย: หม้อข้าวหม้อแกงลิง

ความหลากหลายและรูปแบบที่พบ: standard form, var. globosa

ถิ่นที่พบ: ระยอง, ตราด, สุราษฎร์ธานี

ระดับความสูง: จ-150 ม. จากระดับน้ำทะเล

นิเวศวิทยา: แอ่งน้ำ ขอบบึง ป่าพรุ ซึ่งมีน้ำขัง ซึ่งมีแสงแดดส่องถึงเกือบตลอดทั้งวัน ดินที่พบเป็นทรายแม่น้ำ ผสมซากใบไม้ผุ

ลักษณะของพืช:

ลำต้น: ทรงกระบอก ยาวไม่เกิน 15 ม. หนาไม่เกิน 20 มม. ระยะระหว่างข้อไม่เกิน 15 ซม. ใบ: บางเหมือนกระดาษ ต้นโตเต็มที่จะมีก้านใบ เนื้อใบรูปไข่หรือรูปปลายหอก ยาวไม่เกิน 30 ซม. กว้างไม่เกิน 7 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบค่อย ๆ แคบลงหรือแคบลงอย่างลาดชัน โคนใบธรรมดา-โอบรัดลำต้นกึ่งหนึ่งหากไม่มีก้านใบ เส้นใบแนวยาวเห็นได้ชัดเจน ฝั่งละ 3-4 เส้น เส้นใบย่อยจำนวนมาก สายหม้อยาวไม่เกิน 10 ซม. หม้อ: ก้นหม้อเป็นกระเปาะ มีเอวช่วง 1 ใน 3 จากก้น ด้านบนทรงกระบอก สูงไม่เกิน 15 ซม. กว้างไม่เกิน 4 ซม. มีครีบ 1 คู่ (กว้างไม่เกิน 4 มม.) ตั้งแต่ขอบปากถึงก้นหม้อ บริเวณต่อมผลิตน้ำย่อยอยู่บริเวณก้นหม้อที่เป็นกระเปาะ ปากหม้อกลม ขนานกับพื้นหรือเฉียง ขอบปากแบนโค้งที่ขอบ หนาไม่เกิน 10 มม. ฟันเห็นไม่ชัดเจน ฝาหม้อสัณฐานกลมรี ไม่มีเดือยใต้ฝา มี 1-2 จุก ยาวไม่เกิน 5 มม. หม้อบนทรงกระบอกครีบหดเล็กลง ช่อดอก: ช่อกระจะ ก้านช่อเดี่ยว ยาวไม่เกิน 15 ซม. ช่อดอกยาวไม่เกิน 30 ซม. ก้านดอกยาวไม่เกิน 15 มม. ไม่มีฐานรองดอก กลีบดอกรูปกลมหรือรูปไข่ ยาวไม่เกิน 7 มม. ขน: ต้นอ่อนปกคลุมด้วยขนหนาสั้นสีขาว แต่มีการผลัดขน ต้นที่โตเต็มที่ไม่มีขน ขอบใบของต้นที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่มีลักษณะขอบใบจัก

อ.เมือง จ.ระยอง 16 พ.ค. 2552

หลังจากเที่ยวที่จันทบุรีเสร็จแล้ว พ่อผมต้องกลับแต่เช้ามืดเพราะมีภาระกิจ ผมเลยให้พ่อแวะส่งที่ อ.แกลง ก่อนจะเลี้ยวเข้าเส้นทาง มอเตอร์เวย์ เพื่อต่อรถไปที่ ต.ตะพง ตามที่มีข้อมูลจากเว็บหม้อข้าวหม้อแกงลิง ว่ามีดง N. mirabilis ขึ้นปะปนกับป้าอ้อ หรือป่ากก


ผมนั่งรถเมล์จาก อ.แกลงเพื่อมาลงที่แยกตะพง แล้วเดินเข้าไปถามที่วินมอเตอร์ไซค์บริเวณหน้าวัดตะพง…(จำไม่ได้ว่าเหนือหรือใต้) มีป้าวินคนหนึ่งบอกว่าเคยเจอ เคยไปขุดมาปลูก(แต่ปลูกแล้วตาย) อยู่บริเวณป่าละเมาะใกล้หาดแม่รำพึง ไม่ห่างจากสีแยกนัก ผมจึงว่าจ้างให้ป้าพาผมไปดู ด้วยราคา 30 บาท เมื่อแรกไปถึงก็พยายามหา เท่าไรก็หาไม่เจอ วินมอเตอร์ไซค์ก็ตั้งใจช่วยเต็มที่ พยายามหาคนที่น่าจะรู้

จนไปได้แหล่งข่าวจากหมอยาสมุนไพรว่า พบอยู่อีกตำบลหนึ่ง ซึ่งห่างออกไปประมาณ 30 กม.จากที่นี่ ที่บ้านหมอท่านดังกล่าวผมได้พบคุณยายคนหนึ่ง ซึ่งผมถามถึงหม้อข้าวหม้อแกงลิงแกบอกไม่รู้จัก ผมจึงเปิดภาพในกล้องดิจิตอลที่ผมพกติดตัวไปให้แกดู พอแกเห็นแกก็ร้องอ๋อ "…ทอกลิง" ผมฟังไม่ชัด เพราะแกพูดเหน่อ แบบคนระยอง เลยถามอีกทีให้ชัด ๆ แกบอกว่า ไอ้ต้นพรรค์นี้ชาวบ้านเขาเรียกว่า "ควยถอกลิง"(Unsencer) เห็นไหมล่ะ ตอนที่ฝามันยังไม่เปิดมันเหมือน…ของลิงเปี๊ยบเลย(ละไว้ในฐานที่เข้าใจ) อ๋อ เลยได้ทราบภาษาถิ่นอีกชื่อหนึ่ง ซึ่งน่าบันทึกไว้มากเชียวครับ

ผมพยายามต่อรองให้ป้าพาไปให้ได้ เพราะไหน ๆ ก็มาแล้วไม่อยากเสียเที่ยว อีกอย่างผมมีเวลาทั้งวัน ไม่รีบร้อน ป้าแกก็ไม่ค่อยอยากไป ติว่ามันไกล แค่ไปบ้านเพ แกก็คิด 300 แล้ว นี่มันไกลว่านั้นอีก ผมก็เลยต้องนั่งต่อรองกับแก ว่า เอาเถอะป้าจะเอาเท่าไรก็ว่ามา ผมอยากไปดูจริง ๆ ผมสู้ราคาไหวผมก็ไป ถ้าไม่ไหวผมก็กลับ ป้าแกเลยคิดราคาไปกลับ 500 บาท ผมไม่ต่อรองมาก เอาก็เอา

เสร็จแล้วก็นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์แกไป ตากแดด ตัวแดงกันเลย เสื้อคลุมก็ไม่มี หมวกก็ไม่มี แถมใส่กางเกงขาสั้นซะอีก ยังดีที่ช่วงแรก ๆ มีเมฆมาก เพราะเมื่อคืนฝนตก เลยไม่ค่อยร้อนเท่าไร แต่ขากลับนี่สิ แดดเปรี้ยง ๆ เลยครับ

เมื่อไปถึงตำบลที่ว่า ก็ยังต้องไปถามต่อเรื่อย ๆ เค้าว่าหนทางอยู่ที่ปาก ถ้าคุยกับชาวบ้านรู้เรื่องก็หาทางไปถูก ยิ่งมีคนท้องถิ่นไปด้วยยิ่งเข้าใจดีใหญ่ จนได้ทางไปยังบ้านหลังหนึ่งซึ่งทอเสื่อกก ชาวบ้านบอกว่านอกจากทอเสื่อกกแล้ว แกยังเก็บต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาชำแล้วก็ขายตามตลาดนัดด้วย ผมก็สืบเสาะไปจนเจอ พอดีกับที่แวะถามว่าบ้านหลังนั้นไปทางไหน ผมเหลือบไปเห็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่แกชำไว้หน้าบ้านพอดีเลย

ที่บ้านแก มีต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ปลูกในวงบ่อปูนซีเมนต์ ต้นสูงประมาณ 2 เมตร กำลังออกดอกสะพรั่ง ผมก็เลยได้เก็บภาพมา ทั้งต้น และหม้อ

Photobucket
นี่ครับ ต้นที่อยู่ที่บ้านคุณพี่ที่ทอเสื่อ
Photobucket Photobucket
หม้อที่ส่วนใหญ่เป็น upper แล้ว มีทั้งสีแดง ๆ และสีออกเขียวเหลือง

แต่ต้นที่แกเพาะชำไว้ขายผมไม่ได้ถ่ายมา เพราะไม่ค่อยน่าชมเท่าไร หม้อก็ไม่มี ทำไงได้ล่ะครับ เลี้ยงกับแบบบ้าน ๆ ไม่รู้วิธีการมากมาย ป้าวินมอเตอร์ไซค์ แกก็ชอบของแกด้วย แกเลยซื้อมา 1 ต้น ราคา 30 บาท

พี่ท่านนี้เล่าให้ฟังว่า บริเวณที่แกพบเป็นบึงที่อยู่กลางหุบเขา มีน้ำขังตลอดปี เป็นพื้นที่ป่าเสม็ด ที่มีต้นกก จำนวนมาก เวลาที่แกไปเก็บต้นกกมาทอเสื่อ แกก็เก็บหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาเลี้ยงเล่น ๆ นาน ๆ ไปเริ่มมีคนสนใจ แกก็เลย ชำใส่ถุงขาย โดยเก็บแต่ต้นเล็ก ๆ ขนาดพอใส่ถุงดำได้ แล้วก็มาเลี้ยงต่อจนรอด แกค่อยเอาไปขายตามตลาดนัด หรืองานออกร้านพร้อมกับเสื่อที่แกทอเอง(ถึงจะเป็นการทำลายธรรมชาติ แต่ผมก็ว่าน่าชื่นชมกว่าการเก็บถอนจำนวนมาก ๆ แล้วส่งมาขายในเมืองอีก) แต่ตอนนี้ในบึงนั้นเหลือหม้อข้าวหม้อแกงลิงไม่เยอะ โดยเฉพาะในหน้าแล้ง เพราะชาวบ้านใกล้บึงจะเผาป่า เพื่อให้โล่ง จะได้มีพื้นที่ในการทอดแห หาปลา(วิธีนี้ทำลายธรรมชาติ มากกว่าการเก็บต้นไม้มาขายเสียอีก) แกก็บอกว่าถ้าไปดูตอนนี้ไม่ค่อยได้เห็นต้นใหญ่ ๆ แล้วเพราะโดนเผาไปหมด จะมีก็ต้นเล็ก ๆ ที่เพิ่งเริ่มโต อีกอย่างหนึ่ง เมื่อก่อนที่บึงจะน้ำตื้น สามารถเดินไปได้ทั่ว แต่ตอนนี้ อบต. ทำโครงการคลองรอบบึง จึงมีการขุดคลองรอบบึง เพื่อให้น้ำสามารถไหลได้ ทำให้บริเวณที่เป็นคลองรอบบึงน้ำจะค่อนข้างลึก ถ้าลงไปก็เปียกหมดทั้งตัวกว่าจะข้ามไปในบึงในส่วนที่ตื้นได้

แต่ก็เอาล่ะ ไหน ๆ ก็มาแล้ว ขอไปดูเสียหน่อยก็แล้วกัน ไว้โอกาสหน้าเอารถมาเองจะลงไปลุยในบึงเลย ผมกับคุณป้ามอเตอร์ไซค์ก็ขี่รถหาบึงนี่อีก ซึ่งห่างจากบ้านทอเสื่อประมาณ 3 กม. แล้วก็ได้พบ สภาพบึงเป็นแบบนี้ครับ
Photobucket

Photobucket
ตรงกลางที่มีต้นกก และต้นไม้ขึ้นห่าง ๆ กันคือบึงที่ว่าครับ มีเนื้อที่น่าจะเป็นพัน ๆ ไร่ ส่วนบริเวณที่มีดอกบัวขึ้น คือคลองที่อบต.ขุดไว้รอบบึงครับ ไว้คราวหน้ามีเสื้อผ้ามาเปลี่ยนจะลงไปถ่ายถึงในบึงเลยครับ เรื่องราวการผจญภัยตามล่าหาหม้อข้าวหม้อแกงลิงของผม ในครั้งนี้ก็มีเท่านี้ครับ

เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี  10 ก.ค. 2552

Picture 006  

Picture 004

Picture 005

Picture 001

Picture 003

N. mirabilis รูปแบบที่พบบนเกาะพะงัน เป็นกลุ่มต้นเดี่ยว ขนาดใหญ่ ปกคลุมไม้พุ่มเกือบทั้งต้น อาจมีเพียง 2-3 ต้น ซึ่งพบมีรากและโคนต้นขนาดใหญ่ แช่ลงในแอ่งน้ำ รากหยั่งลงถึงก้นแอ่งน้ำซึ่งมีดินทรายและซากใบไม้ผุตกตะกอนอยู่ นอกจากนั้นมีการแตกหน่อ แตกยอดจากต้นเดียวกัน แยกออกไปเป็นหลายยอด ลำต้นมีการยืดขึ้นไปถึงยอดไม้ แล้วหักงอลงมา แล้วยืดขึ้นไปอีกหลายครั้ง ซึ่งน่าจะมีความยาวมากกว่า 15 เมตร

Picture 027Picture 019 

Picture 002 Picture 008 Picture 010

Picture 013  Picture 016  Picture 020

 Picture 023 Picture 015

หม้อที่พบเป็นรูปแบบธรรมดาโดยทั่วไป มีลักษณะใกล้เคียงกับ รูปแบบที่พบทางภาคตะวันออก แต่มีส่วนที่แตกต่างกันเล็กน้อย คือหม้อค่อนข้างสั้นป้อมกว่ารูปแบบที่พบในบริเวณอื่น ๆ สีค่อนข้างจืด มีบ้างที่ขอบปากหม้อสีแดงสด แต่ส่วนใหญ่หม้อเป็นสีเขียวอ่อน มีสีแดงเรื่อ ๆ บริเวณก้นหม้อและขอบปากหม้อ ในบริเวณนั้นมีเพียงต้นเดียวที่มีลักษณะหม้อค่อนข้างกลม และมีสีแดงล้วน ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกแยก บริเวณใกล้เคียงยังมีต้นขนาดเล็กซึ่งคาดว่าเกิดจากเมล็ด แต่กระจายตัวไม่ห่างจากพุ่มใหญ่มากนัก ต้นที่พบในบริเวณมีตั้งเพศผู้และเพศเมีย เท่า ๆ กัน ช่วงที่ไปพบ เป็นช่วง ที่ช่อดอกตัวเมียได้รับการผสมแล้ว แต่ฝักยังไม่แก่จัดจึงไม่สามารถเก็บเมล็ดนำมาเพาะพันธุ์ได้ แต่ก็มีฝักที่สมบูรณ์ประมาณ 2-3 ฝัก จึงทดลองเก็บมาเพาะเลี้ยง ว่าสามารถใช้เมล็ดจากฝักที่ยังไม่แก่ เพาะได้หรือไม่

บึงหล่ม อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ 13 กันยายน 2552

ผมค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แล้วพบว่ามีหนังสือเล่มหนึ่ง ที่เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ นิเวศวิทยาของหม้อข้าวหม้อแกงลิงในบึงหล่ม อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ บ้านผมเอง ผมจึงไปหาข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่รอบบึงหล่ม ได้ความว่า บึงหล่ม เป็นบึงธรรมชาติขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหล่ม ที่ไม่ลึกมากนัก ในบึงจะเต็มไปด้วยหม้อข้าวหม้อแกงลิง หญ้าคา หญ้าไทร ผักกูด รวมทั้งสัตว์น้ำ และนกน้ำจำนวนมาก เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน มีการจัดสร้าง ประตูกั้นน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำภายในบึงและปล่อยน้ำเพื่อการเกษตร ไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ใกล้เคียง ทำให้เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำก็จะท่วมต้นไม้ภายในบึงเกือบทั้งหมด และเมื่อหน้าแล้งน้ำก็จะแห้งไปจากบึง ซากหญ้าและพืชในบึง ก็ถูกไฟป่าใหม้ทุกปี ทำให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่เคยมีในบึงหล่มแห่งนี้ สูญพันธุ์ไปด้วย ซึ่งน่าเสียดายเป็นอย่างมาก

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

Nepenthes smilesii

Nepenthes smilesii Hemsl.,

Kew Bull. (1895) 116.

ความหมายของชื่อ: หม้อข้าวหม้อแกงลิงของ Smiles (นักพฤกษศาสตร์ผู้ค้นพบ)

ชื่อพ้อง: anamensis

ชื่อไทย: น้ำเต้าพระฤาษี (เลย)

ความหลากหลายและรูปแบบที่อธิบายไว้: ไม่มี

ถิ่นกำเนิด: พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, เลย, ชัยภูมิ, อุดรธานี, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ

ระดับความสูง: 100-1,300 ม.

ชนิดผสมตามธรรมชาติ: ไม่พบ

นิเวศวิทยา: ที่ราบทุ่งหญ้าป่าสนบนภูเขาสูงซึ่งเป็นดินทราย แห้งแล้งในบางฤดู

ต้น: ลำต้นทรงกระบอก ยาวไม่เกิน 3 ม. หนาไม่เกิน 15 มม. ระยะระหว่างข้อยาวไม่เกิน 5 ซม. ลำต้นมีสีเขียว ส้ม หรือแดง เมื่อแก่เป็นสีเทา ใบ: หนาเหนียวเหมือนหนัง ใบเดี่ยว เรียงตัวเป็นเกลียว เนื้อใบรูปหอกแกมขอบขนาน ยาวไม่เกิน 30 ซม. กว้างไม่เกิน 4 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบมีขนเล็กน้อย โคนใบแคบ ไม่มีก้านใบ โคนใบโอบลำต้นเต็มลำ มีเส้นใบแนวยาวฝั่งละ 3-4 เส้น เส้นใบย่อยไม่ชัดเจน ใบมีสีเขียวอ่อนหรือสีแดง สายหม้อยาวไม่เกิน 4 ซม. บางครั้งมีครีบยืดออกตั้งแต่เนื้อใบยาวตลอดสายหม้อเชื่อมต่อกับครับที่หม้อ หม้อ: หม้อล่างทรงกระบอก ก้นหม้อทรงกระเปาะเล็กน้อย สูงไม่เกิน 15 ซม. กว้างไม่เกิน 4 ซม. มีครีบ 1 คู่ กว้างไม่เกิน 10 มม. ยาวจากขอบปากจรดก้นหม้อ ผนังด้านนอกหม้อมีสีแดง ส้ม เหลืองหรือเขียวอ่อน เจือสีส้มแดง ผนังด้านในหม้อมีสีขาว มีจุดสีแดง-แดงเข้มประปรายหรือเกือบทั่วทั้งผนังด้านในหม้อ ปากหม้อรูปกลม-รูปหัวใจ ขอบปากหม้อทรงกระบอก หนาไม่เกิน 3 ม.ม. เฉียงขึ้นไปทางด้านหลัง ฟันไม่เด่นชัด ขอบปากหม้อมีสีเดียวกับผนังด้านนอกหม้อหรือสีเหลือง ฝาหม้อเป็นรูปวงรี-รูปหัวใจ ไม่มีเดือยใต้ฝาหม้อ จุกหม้อเดี่ยว ยาวไม่เกิน 2 มม. หม้อบนทรงเรียวกว่า ครีบหดลงเป็นแนว มีสีสันไม่สดใส ช่อดอก: ตัวผู้กับดอกตัวเมียมีขนนุ่ม ดอกมีขนาดยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร กลีบดอกตัวเมียเมื่อแก่จะไม่บานออก ผลเป็นแบบแคปซูล เมื่อแก่จะแตกเป็นพู 4 พู ขน: ลำต้นและใบมีขนสั้นนุ่ม สีขาว ทั้งด้านบนและท้องใบ ยอดอ่อนมีขนหนาสั้นสีน้ำตาลอ่อน

ข้อสังเกต

N. smilesii เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิง กลุ่มพื้นที่สูง ที่พบได้ในแถบอินโดจีน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย นิเวศวิทยาที่พบในเมืองไทย มักพบบนที่ราบสูง ซึ่งมักเป็นทุ่งหญ้าแห้งแล้ง โล่งแจ้ง อาจมีป่าสนปะปนอยู่ประปราย ดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ซึ่งมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชน้อย เช่น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย, อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก, อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่า บริเวณที่มีภูมิประเทศ เป็นที่ราบทุ่งหญ้าป่าสนเขาบนพื้นที่สูง น่าจะพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ได้เกือบทุกแห่งทั่วประเทศ

ชนิด N. smilesii เคยถูกจัดเป็นเพียงความหลากหลายของชนิด N. mirabilis แต่ด้วยลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่แตกต่างกันมากทั้งลำต้น รูปร่างของเนื้อใบ รวมถึงขนจำนวนมาก ซึ่งไม่มีในชนิด N. mirabilis ทำให้มีการจัดลำดับอนุกรมวิธานเป็นชนิดใหม่ โครงสร้างลำต้นและใบของชนิด N. smilesii มีลักษณะใกล้เคียงกับ N. thorelii แต่จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก รวมทั้งยังมีขนสั้นนุ่ม สีขาว ปกคลุมผิวใบ ซึ่งไม่พบในชนิด N. thorelii ส่วนชนิด N. anamensis (Anam =ชื่อเมืองทางภาคกลางของเวียดนาม, -ensis = มาจาก) มีลักษณะหลายประการที่เหมือนกับชนิดนี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นชนิดเดียวกัน ผู้เขียนจึงใช้ชื่อ N. smilesii ซึ่งเป็นชื่อชนิดที่นิยมใช้แพร่หลายมากกว่า และมีการบันทึกไว้ในเอกสารของหอพรรณไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเห็นส่วนตัวอีกประการหนึ่งคือ smiles แปลว่ารอยยิ้ม ดังนั้ง N. smilesii ก็มีความหมายตามตัวอักษรว่า “หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งรอยยิ้ม” ซึ่งเหมาะกับ เมืองไทย ดินแดนแห่งรอยยิ้มด้วย

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย (17 มกราคม 2552)

DSCF1319 DSCF1295 DSCF1296

 DSCF1297 DSCF1314 DSCF1316

DSCF1318

พบที่ระดับความสูง 1,300 ม. เหนือระดับน้ำทะเล บริเวณทุ่งหญ้าป่าสนทั่วทั้งยอดภู มักพบใกล้กับโคนต้นสน เพื่อได้รับร่มเงาจากต้นสนในวันที่แสงแดดจัด ในช่วงฤดูแล้งชนิดนี้จะชะลอการเจริญเติบโต หม้อจะเหี่ยวเกือบทั้งหมด ใบจะเหี่ยวแห้งลง เหลือเพียง 3-5 ใบ ต่อต้น และไม่ค่อยแตกใบใหม่ จนกว่าจะมีฝนตก เพื่อป้องกันการคายน้ำ รากจะมีลักษณะเป็นเหง้าปมเพื่อใช้ในการเก็บสะสมน้ำในช่วงฤดูแล้ง พบต้นแก่ที่มีความยาว 3 เมตรแต่ไม่ค่อยเลื้อยอิงอาศัยต้นไม้ใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตจนมีความยาวมักเกินกว่าลำต้นจะรับน้ำหนักได้ก็จะโค้งลงต่ำอาจพาดเกี่ยวกับกิ่งไม้อื่นและเมื่อเจริญเติบโตต่อไปก็จะยืดขึ้นไปอีก ต้นที่พบมีการม้วนขดขึ้นลงในลักษณะนี้หลายรอบด้วยกัน และมีการแตกยอดมากว่า 5 ยอดในต้นเดียวกัน ตั้งแต่โคนจรดปลาย ชนิดนี้พบลักษณะใบสีเขียวปกติ และใบสีแดงทั้งหมดหรือน้ำตาลแดง ซึ่งยังต้องสังเกตต่อไปว่าลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะทางพันธุกรรมหรือเกิดจากสิ่งแวดล้อม

ปล. ฤดูที่เหมาะสมในการไปเที่ยวชมหม้อข้าวหม้อแกงลิงบนภูกระดึงคือ ช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. ซึ่งเป็นช่วงฤดูที่ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะสมบูรณ์มีทั้งหม้อและใบ ทั้งยังมีสภาพอากาศที่ง่ายต่อการเดินชม เพราะไม่ใช่ฤดูฝน ส่วนช่วงฤดูหนาวที่ไปนี้จะมีสภาพอากาศแห้งแล้ง ทำให้หาหม้อข้าวหม้อแกงลิงงาม ๆ ไม่ได้ ทั้งหม้อและใบที่พบก็จะมีขนาดเล็ก

 

อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (12 กุมภาพันธ์ 2552)

เมื่อช่วงปลายปี 51 ผมเคยมาที่นี่ครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนั้นแค่ผ่านมา แล้วก็แวะเข้าห้องน้ำ แวะดูที่ศูนย์บริการข้อมูลอุทยาน พบหนังสือรวบรวมภาพถ่ายและพันธุ์ไม้ป่าในอุทยานแห่งนี้ แล้วผมก็ได้พบกับภาพนี้ครับ

Photobucket

เมื่อได้เห็นภาพนี้แล้ว ผมก็มีความตั้งใจว่า ครั้งหน้าจะต้องแวะมาค้างแรมที่นี่ แล้วออกตามหา หม้อข้าวหม้อแกงลิงให้เจอให้ได้

     แล้วผมก็ได้มาอีกครั้งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 พร้อมทั้งเต๊นท์คู่ใจ วันแรกที่มาถึง ผมขับรถตรงเข้าไปยังภูกุ่มข้าวทันที ก่อนจะเข้าไปกางเต๊นท์ในอุทยานเสียอีก แต่ก็ต้องผิดหวังครับ เพราะไปถึงแล้วพยายามเดินหา ตามโคนต้นสนใหญ่ (เหมือนอย่างที่พบบนภูกระดึง) แต่ก็ไม่พบเลยแม้แต่ต้นเดียว อีกทั้งระยะทางจากปากทางเข้าไปยังภูกุ่มข้าวก็เป็นทางลูกรัง ระยะทางถึง 15 กม. จึงไม่รู้จะแวะตรงไหนดี

     เย็นวันนั้นผมกลับเข้าไปพักในอุทยานฯ สอบถามแม่ค้าว่า สวนสนบ้านแปก(เห็นป้ายอยู่ข้างทาง) กับ ดงแปก เนี่ยมันคือสถานที่เดียวกันหรือเปล่า แม่ค้าบอกว่า ที่เดียวกัน ทำให้มั่นใจขึ้น คิดไว้ว่า เอาวะ… ยังเหลืออีกที่หนึ่ง คือ ดงแปก เดี๋ยวพรุ่งนี้เจอกัน…

     เช้าขึ้น หลังจากเก็บเต๊นท์ ดื่มกาแฟ และเดินเล่นในบริเวณอุทยานจนพอใจแล้ว ผมก็ออกเดินทางต่อไปยัง สวนสนบ้านแปก ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานเพียงไม่มากนัก แต่เมื่อเข้าไปก็ต้องผิดหวังอีก นอกจากจะไม่ได้เจอกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงแล้ว ยังเห็นสภาพสวนสนบ้านแปก ซึ่งถูกไฟป่าเผาจนต้นสนล้มระเนระนาด(อ่านเรื่องนี้และดูสภาพป่าสนที่ถูกไฟใหม้ได้ที่บล๊อก "เที่ยวเขาค้อ ต่อ น้ำหนาว")ทำให้คิดว่า ถ้าบริเวณนี้มีหม้อข้าวหม้อแกงลิงอยู่ก็คงถูกไฟป่า เผาวอดไปหมดด้วยเช่นกัน

     ผมออกจากสวนสนบ้านแปกมาเป็นเวลาใกล้เที่ยง จึงแวะกลับเข้าไปยังอุทยานฯ เพื่อเข้าห้องน้ำและทานข้าวกลางวัน ก่อนจะเดินทางกลับอย่างสิ้นหวัง ที่ป้อมตรวจการ ด้านหน้าอุทยานฯ ผมได้พบกับเจ้าหน้าที่ซึ่งแนะนำว่า ถ้าอยากเห็นช้างป่าให้มาดูที่กล้องของ เจ้าหน้าที่อีกท่านหนึ่งซึ่งถ่ายไว้ได้ ผมก็คิดในใจว่า เอาล่ะ ดูหน่อยก็ดี จึงเดินเข้าไปดูภาพในกล้องดิจิตอลของคุณลุงท่านนั้น ระหว่างที่ดูผมเหลือบไปเห็นแผ่นซีดี ซึ่งมีภาพหม้อข้าวหม้อแกงลิงและดอกไม้ป่าจำนวนหนึ่งอยู่ ผมจึงถามว่า ถ้าผมอยากจะไปถ่ายรูปหม้อข้าวหม้อแกงลิง ผมจะไปที่ไหนได้ เพราะผมเข้าไปมาหมดแล้วยังหาไม่เจอเลย แกบอกว่า จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ได้หายากนัก แต่ตามริมทางไม่มีให้เห็น ต้องเข้าไปในป่านิดหนึ่ง ถ้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่รู้จุดก็หาไม่เจอหรอก แกบอกให้ผมไปกินข้าวก่อน แล้วไปหาแกที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เดี๋ยวแกจะพาไปดู (ทราบทีหลังว่าแกชื่อลุงสุรินทร์ เป็นหัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานนี้)

     หลังจากทานอาหารกลางวันแล้ว ผมก็รีบไปหาแกที่หน่วยฯ ไปถึงแกเปลี่ยนชุดจาก ชุดเจ้าหน้าที่เป็นชุดเดินป่า จุดแรกแกพาผมไปดูบริเวณที่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เพียง 300 เมตร

0102 

สภาพป่าเป็นแบบนี้ครับ แตกต่างจากบนภูกระดึง ซึ่งเป็นป่าสนเพียงอย่างเดียว แต่ที่นี้เป็นป่าดิบแล้ง ผสมกับป่าสน ซึ่งมีต้นหญ้าขึ้นสูงท่วมเอวทีเดียว

14 03 05

06 07 08

09 10 13

หม้อที่พบก็มีหลากหลายมาก ทั้งหม้อบนหม้อล่าง ซึ่งมีขนาดและสีสันที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่สีแดง สีส้ม สีเขียว สีเหลือง หม้อที่นี่มีขนาดใหญ่กว่าบนภูกระดึงมาก เหลือบไปเห็นหม้อซึ่งเหี่ยวไปแล้ว มีขนาดใหญ่มาก ลุงสุรินทร์บอกว่า ถ้าอยากเห็นหม้อใหญ่ ๆ สีสวย ๆ ต้องมาดูช่วงหน้าฝน จะงามมาก ๆ

15

ลำต้นก็มีทั้งที่อยู่ตามพื้นดิน และที่ไต่ขึ้นไปบนต้นไม้หรือพุ่มไม้เตี้ย ๆ ใบมีขนาดที่ยาวมากกว่าที่พบบนภูกระดึง ที่นี่วัดความยาวได้ถึง 65 ซม.หม้อก็มีขนาดความสูงมากที่สุดถึง 21 ซม. และกว้างถึง 6 ซม. ทีเดียว(วัดจากหม้อขนาดใหญ่ซึ่งเหี่ยวแห้งไปแล้ว แต่ลำต้นยาวไม่มากนัก ลุงสุรินทร์บอกว่า บริเวณนี้เป็นทางช้างผ่าน ก็เลยทำให้ต้นไม้แถวนี้โดนช้างเหยียบและไปบ้าง
เมื่อถ่ายรูปบริเวณนี้จนหนำใจแล้ว ลุงสุรินทร์จึงพาเข้าไปดูอีกที่หนึ่งซึ่งต้องเข้าไปประมาณ 3 กม. บริเวณนี้เป็นบึงในช่วงฤดูฝนและจะแห้งในฤดูหนาว

19

บริเวณนี้เป็นที่โล่ง มีเพียงไม้พุ่มเตี้ย ๆ ล้อมรอบบึงด้วยป่าสน และป่าดิบแล้ง ที่เห็นเสื้อเหลือง ๆ นั่นแหละ ลุงสุรินทร์ เนวิเกเตอร์ของผม

20

กอหม้อข้าวหม้อแกงลิงในบริเวณนี้ จะเป็นพุ่มเตี้ยกว่า เพราะเป็นที่โล่ง แดดส่องได้ทั่วถึง ทำให้ใบและหม้อมีขนาดย่อมกว่าจุดแรกเล็กน้อย

34 21 22

23 24 25

29 30 31

32

หม้อบริเวณนี้ดูจะมีสีสันสดใส เพราะได้รับแสงแดดมากกว่า มีความหลากหลายเช่นเดียวกัน

27

ดินที่นี่เป็นดินเหนียวปนทราย ซึ่งแม้หน้านี้จะเป็นหน้าแล้งแล้ว แต่ยังคงมีความชื้นสะสมอยู่ใต้ดิน เนื่องจากเป็นบึงน้ำมากก่อน

เมื่อถ่ายรูปจนพอใจแล้วจึงแวะส่งลุงสุรินทร์ แล้วเดินทางกลับนครสวรรค์ รวมทั้งตั้งใจว่า เอาไว้หน้าฝนจะมาใหม่อีกครั้งนึง

 

ข้อแนะนำสำหรับการอนุรักษ์

เพื่อเป็นการอนุรักษ์หากพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงในป่าธรรมชาติ ไม่ควรนำกลับมาปลูก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงหรือขยายพันธุ์ เพราะโอกาสที่หม้อข้าวหม้อแกงลิงป่าจะรอดนั้นมีน้อยมาก สำหรับผู้มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ ขอแนะนำให้ใช้วิธีการตัดยอดแล้วนำกลับไปชำในจำนวนไม่มากนัก เมื่อรอดแล้วค่อยขยายพันธุ์ด้วยกระบวนการอื่น ๆ ต่อไป ไม่ควรขุดรากถอนโคน เพราะหากเราตัดยอดหม้อข้าวหม้อแกงลิงยังมีโอกาสแตกยอดใหม่และเจริญเติบโตต่อไปได้ และที่สำคัญควรทำเพื่อการศึกษาค้นคว้าไม่ควรทำเพื่อการพาณิชย์หรือเพื่อความบันเทิง

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

Nepenthes “chang”

Nepenthes “chang” หม้อข้าวหม้อแกงลิงเกาะช้าง

Picture 030

หลังจากสำรวจหม้อข้าวหม้อแกงลิงบนฝั่งของ จ.ตราด เสร็จเรียบร้อยภายใน 1 วัน วันถัดมา ผมกับมาร์ซีก็เดินทางข้ามไปยังเกาะช้าง โดยเดินทางตั้งแต่ 8 โมงเช้า เมื่อไปถึงเกาะก็ขับรถต่อไปยังจุดที่จะเดินขึ้นยอดเขา ซึ่งมาร์ซี ได้เคยมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีก่อน และคาดว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิง ที่เขาพบจะเป็นชนิดใหม่ จึงย้อนมาดูเพื่อให้แน่ใจ เพราะครั้งก่อนที่เขามาเป็นช่วงต้นปี หม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนใหญ่ก็เลยเหี่ยวและมีหม้อให้เห็นไม่มากนัก

หลังจากที่พวกเราเดินขึ้นเขาไปกว่าชั่วโมง ทั้งความร้อน ความเหนื่อย เหงื่อไหลไคลย้อย ไม่ต่างกับเพิ่งอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ ผิดก็แต่ ไม่รู้สึกเย็นเลยสักนิด แต่ความเหนื่อยล้าและความอ่อนเพลียก็มลายหายไป เมื่อพวกเราเดินทางมาถึง จุดที่พบหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งอยู่ในระดับความสูงประมาณ 230 ม. จากระดับน้ำทะเล

นิเวศวิทยา ถือเป็นความแตกต่างที่สำคัญประการแรกในการจำแนกหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้กับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น ๆ เพราะเกือบทุกชนิดที่พบในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีนิเวศวิทยาป่าพรุ, บนยอดภู, ในทุ่งหญ้าสะวันนา หรือแม้แต่ในเกาะกลางทะเล ทั้งหมดจะมีนิเวศวิทยาบนพื้นราบ มีเพียงชนิดนี้ชนิดเดียว ที่อยู่ตามหน้าผาสูง และที่ลาดชันงอกจากซอกหิน ซึ่งผมยังไม่ทราบว่าเป็นหินชนิดใด แต่ได้เก็บตัวอย่างหินเพื่อนำมาตรวจสอบแล้ว แต่ยังไม่ทราบชนิด

Picture 017 Picture 010

Picture 014

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงอีก 3 ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ N. kampotiana บนฝั่งจ.ตราด, N. smilesii จากยอดภูทางภาคอีสาน และ N. kongkandana จากภาคใต้ ซึ่งมีลำต้นทรงกระบอก เจริญเติบโตบนดิน เมื่อเจริญเติบโตจนเข้าสู่ระยะเถาเลื้อย จะพันเกี่ยวกับพุ่มไม้ใกล้ ๆ เพื่อพยุงลำต้น ใบรูปแถบแกมรูปขอบขนาน ไม่มีก้านใบ โคนใบโอบลำต้น มีครีบยืดออกมากจากโคนใบโอบลำต้นจนรอบ รากเป็นเหง้าปม ส่วนความแตกต่างระหว่าง ทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวกับชนิดนี้ ยังเป็นความลับ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่มาร์ซีจะใช้ในการจำแนกชนิด และประกาศเป็นชนิดใหม่ต่อไปในอนาคต

Picture 008 Picture 004 Picture 006

ในส่วนของหม้อก็เช่นเดียวกัน มีลักษณะโดยรวมใกล้เคียงกับ 3 ชนิดดังกล่าว กล่าวคือ หม้อล่าง ทรงกระเปาะที่ก้นหม้อ 2 ใน 3 ส่วน ด้านบนทรงกระบอก ผนังด้านนอกหม้อมีพื้นสีเขียวอ่อนถึงสีครีมอ่อน มักมีแต้มประสีส้มแดงโดยทั่วไป บางครั้งก็เป็นสีเขียวอ่อน หรือสีครีมตลอดทั้งหม้อ มีครีบ 1 คู่ทางด้านหน้า ยาวตั้งแต่ขอบปากหม้อจนถึงก้นหม้อ ผนังด้านในมีสีอ่อนกว่า อาจมีหรือไม่มีจุดประในลักษณะเช่นเดียวกัน ปากหม้อกลม เฉียงขึ้นไปทางด้านหลัง ขอบปากหม้อทรงกระบอก มีตั้งแต่สีเหลือง สีเขียวอ่อน ไปจนถึงสีแดงสด ขอบปากหม้อทางด้านหลัง ยกสูงขึ้นเป็นคอ ฝาหม้อมีสีเดียวกับผนังด้านนอกหม้อ แต่มักไม่มีจุด ไม่มีเดือยใต้ฝาหม้อ จุกเดี่ยว

Picture 032 Picture 003 Picture 005

Picture 007 Picture 009 Picture 012

Picture 015 Picture 016 Picture 019

Picture 021 Picture 028 Picture 029

Picture 018

หม้อบน ทรงกรวยยาว ครีบหดเล็กลงเหลือเป็นแนวเส้นเท่านั้น ผนังด้านนอกหม้อมีสีเขียวอ่อน ไม่มีจุดประ หากอาจมีประสีส้มอ่อนทั่วไป ไม่ฉูดฉาดเหมือนกับหม้อล่าง ผนังด้านในหม้อมักยังมีจุดประอยู่ ขอบปากหม้อรูปทรงไม่แตกต่างจากหม้อล่าง แต่มีเพียงสีเขียวอ่อนเท่านั้น สายหม้อม้วนที่บริเวณกึ่งกลางของความยาวสายหม้อใช้พันเกี่ยวกับกิ่งไม้

Picture 025 Picture 027 Picture 001

Picture 002 Picture 022  

Picture 026

ช่อดอก เป็นช่อกระจะ มีขนสีน้ำตาลจำนวนมาก กลีบดอกรูปรี ดอกตัวผู้ก้านดอกเป็นคู่ ดอกตัวเมียก้านดอกเดี่ยว ออกดอกในช่วงเดือน กรกฏาคม-กันยายยน เมื่อดอกเพศเมียได้รับการผสมเกสร ก็จะพัฒนากลายเป็นผลและเมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาล ฝักก็จะแตกออก ปล่อยเมล็ดให้ปลิวออกไปตกยังสถานที่อันเหมาะสมและขยายพันธุ์ต่อไป

 Picture 011

Picture 024

Picture 031

คาดว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จะยังคงอยู่ต่อไป เพราะบริเวณที่พบอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง และอยู่ในป่าดิบบนภูเขาสูง ซึ่งยากแก่การเข้าไปทำลาย

ทั้งนี้คาดหวังว่าการประกาศชื่ออย่างเป็นทางการของหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่นี้จะสำเร็จในเร็ววัน

ขากลับลงจากเขา พวกเรายังต้องเปียกปอนกับฝนที่ตกกระหน่ำลงมาจนตัวเปียกปอนไปหมด แต่ก็ช่วยให้คลายร้อน คลายเหนื่อยไปได้อย่างมากเลยทีเดียว…

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

Nepethes kampotiana

N. kampotiana Lecomte

ชื่อพ้อง: anamensis Mcfarlane, geoffrayi Lecomte, micholitzii Bonst.

ชื่อไทย: หม้อข้าวลิง

ความหลากหลายและรูปแบบที่อธิบายไว้: ไม่มี

ถิ่นกำเนิด: ตราด เรื่อยไปจนถึงเมืองกัมโปต ประเทศกัมพูชา

ระดับความสูง: 0-120 ม.

ชนิดผสมตามธรรมชาติ: N. mirabilis

นิเวศวิทยา: ป่าเสม็ด ป่าสันทรายชายหาด

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ผมนัดพบกับเพื่อน Mr. Marcello Catalano ชาวอิตาลี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหม้อข้าวหม้อแกงลิงในประเทศไทย เขาใช้เวลาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เดินทางมายังประเทศไทยด้วยตัวคนเดียว ปีละ 1-2 เดือนเพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับหม้อข้าวหม้อแกงลิง และเขียนเวบไซท์เกี่ยวกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงในประเทศไทย ในชื่อ www.nepenthesofthailand.com (ประสบการณ์และความลำบากในการตามหาหม้อข้าวหม้อแกงลิงในประเทศที่คนส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ลองอ่านดูในเวบของเขา) ผมได้พูดคุยกับเขาทางอีเมล์ และเขาก็ได้เข้ามาดูเวบบล๊อกที่ผมสำรวจเกี่ยวกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงในขณะที่ผมเดินทางไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน ในปีนี้ เขาเดินทางมาเมืองไทยในช่วงเดือนสิงหาคม ผมจึงจัดตารางเวลา และเข้าร่วมเดินทางสำรวจกับเขาในช่วง 4-5 วันที่ผมพอจะหยุดงานได้

 

ในช่วงเวลานี้  Marcello สำรวจอยู่ที่จ.ตราด ผมจึงเดินทางไปพบเขาที่นั่น และเริ่มต้นสำรวจกัน จุดแรกเราเดินทางไปในเขตอ.เมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กม. ซึ่งเขาได้รับข้อมูลคราว ๆ และยังหาบริเวณดังกล่าวไม่พบ ผมร่วมทางกับเขาและช่วยสื่อสารกับชาวบ้านเพื่อสอบถามทาง แต่สุดท้ายเราก็คว้าน้ำเหลว

จุดที่สองเป็นพื้นที่อ.เมืองเช่นเดียวกัน แต่ห่างจากตัวเมือง 30 กม. โดยประมาณ เขาเคยมาที่นี่เมื่อปีก่อน ตามข้อมูลที่พบที่หอพรรณไม้ กรมป่าไม้ และได้พบ N. kampotiana ในบริเวณดังกล่าว แต่ในปีนี้ที่เขาพาผมไป พวกเราพบเพียงความว่างเปล่า ป่าเสม็ดที่เคยมีหายไป กลายเป็นไร่ กลายเป็นนา จนเขาเองก็จำสภาพแทบไม่ได้ เราได้สอบถามจากชาวบ้าน ชาวบ้านบอกว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว มีคนมากว้านซื้อไปหมด ชาวบ้านก็งัดมาขายกันจนสูญไปเลย ซึ่งนับว่าน่าเสียดายเป็นอย่างมาก เพราะจากคำบอกเล่าของมาร์ซี่ บริเวณนี้มี N. kampotiana เพียงอย่างเดียว หากยังมีอยู่ เราสามารถเก็บเมล็ดไปเพาะ และแน่ใจได้ว่าเป็นชนิดนี้ล้วน ๆ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงที่ชาวบ้านนำมาใส่กระถางปลูกประดับตามบ้านเท่านั้น

จุดที่ 3 เราเดินทางต่อไปยัง อ.คลองใหญ่ เพื่อสำรวจบริเวณที่เขาเคยมาสำรวจแล้วเมื่อคราวก่อนอีกเช่นกัน บริเวณดังกล่าวอยู่หลังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ห่างจากตัวเมืองตราดประมาณ 60 กม. แต่ไม่สามารถขับรถไปถึงจุดดังกล่าวได้ ต้องจอดรถ แล้วเดินลุยทุ่งเข้าไปยังบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นป่าชุมชน

 Picture 001

ที่เดินนำหน้า สะพายเป้ใบใหญ่นั่นแหละครับ Marcello ผมขอเรียกเขาง่าย ๆ ว่า มาร์ซี่ ก็แล้วกัน เราเดินไปตามพิกัดจีพีเอส ซึ่งเขาได้ทำไว้เมื่อครั้งก่อนที่มา ครั้งก่อนเขามาในช่วงฤดูแล้ง ช่วงต้นปี ดินบริเวณนี้แห้ง ต้นหญ้าก็ไม่หนาแน่นนัก ทำได้เดินง่าย ผิดกับช่วงฤดูฝนแบบนี้ พื้นดินเฉอะแฉะมีน้ำขัง บางช่วงเป็นดินโคลน หญ้าก็ขึ้นสูงท่วมเกินเข่า แต่ก็ไม่มีปัญหา สำหรับคนบ้าหม้อ 2 คนแบบพวกเราครับ (ตอนที่อีเมล์คุยกันว่าขอมาร่วมด้วย เขาก็ขู่ว่า มันลำบากนะ เขาเดินทางคนเดียว รีบ ทำงานหนัก ไม่ได้ชื่นชมความงามธรรมชาติเท่าไร ผมก็สู้ครับ เขาก็เลยตอบตกลงให้มา) พอมาจริง ๆ บางช่วงผมลุยมากกว่าเขาอีก เดี๋ยวรออ่านต่อไป

บริเวณป่าดังกล่าว เป็นป่าเสม็ด พื้นดินเป็นดินทราย มีน้ำท่วมขังเป็นบางช่วงในฤดูฝน ป่าดังกล่าวมีเพียงต้นเสม็ด และไม้พุ่มเตี้ย ๆ ขึ้นห่าง ๆ กัน พื้นล่างเป็นทุ่งหญ้าเพ็ก และมีพืชสกุล Ultricularia ขึ้นปะปนกับหญ้า เราเดินเข้าไปในป่า ลึกพอสมควร แต่ก็ยังไม่พบ มาร์ซี่ก็ไม่แน่ใจ เพราะเขามาหน้าแล้ง ภูมิประเทศจึงค่อนข้างจะแตกต่างกันมาก ผมเดินตามพิกัดจีพีเอสไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่ใกล้ที่สุด แต่พิกัดจริง ๆ อยู่ลึกเข้าไปในป่า ผมจึงตัดสินใจเดินลุยเข้าป่า ตามพิกัดจีพีเอส แล้วผมก็เริ่มได้เห็น

Picture 027

บนยอดไม้ซึ่งสูงเกือบ 3 ม. มีหม้อข้าวหม้อแกงลิงอยู่ ใช่แล้ว บริเวณนี้แน่นอน ผมจึงเริ่มมองหาตามพื้น เพื่อหาต้นและหม้อที่มีขนาดพอเหมาะเพื่อทำการถ่ายรูป

Picture 015 Picture 017 Picture 019

ชนิดนี้มีลำต้นทรงกระบอกและใบเรียวยาว ขอบขนาน ไม่มีก้านใบ โคนใบโอบลำต้น ยาวลงมาตามข้อ คล้ายกับ N. smilesii ของทางภาคอีสาน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดคือ ขน ซึ่ง N. smilesii จะมีขนตลอดทั้งต้นโดยเฉพาะยอดอ่อนจะมีขนหนาสีน้ำตาลปกคลุม แต่ N. kampotiana จะไม่มีขนบริเวณลำต้นและใบ จะมีก็เพียง ดอก หม้อ และสายหม้อเท่านั้น

Picture 024 Picture 002 Picture 007 

Picture 008 Picture 009 Picture 023 

Picture 013 Picture 014

หม้อล่าง ก็มีลักษณะทั้งรูปทรง และสีสันใกล้เคียงกัน คือ มีจุดประสีแดงเข้มถึงสีส้ม บนผิวหม้อสีเขียวเหลือง ขอบปากหม้อทรงกระบอก ค่อนข้างแคบ บริเวณที่ขอบปากหม้อประกบกันทางด้านหลัง จะยกสูงขึ้นเป็นคอเด่นชัด แต่โดยรวมแล้ว N. kampotiana ค่อนข้างจะมีสีสันเข้ม และสดใสกว่า และก้นหม้อจะป่องเป็นกระเปาะมากกว่า N. smilesii

Picture 005 Picture 012 

Picture 003 Picture 011Picture 004 

หม้อบน จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่า บริเวณใกล้ปากหม้อจะกว้างแล้วเรียวเป็นทรงกรวยอย่างชัดเจน ซึ่งหม้อบนของ N. smilesii จะค่อนข้างเป็นทรงกระบอก จะเรียวที่ก้นหม้ออย่างไม่เป็นทรงกรวยมากนัก สีของหม้อบนจะเปลี่ยนจากสีแดงส้ม ซีดลง และกลายเป็นสีเขียวอ่อนเมื่อสมบูรณ์เต็มที่

Picture 006  Picture 010

นิเวศวิทยาของ N. kampotiana จะอยู่ในป่าเสม็ดซึ่งมีพื้นดินเป็นดินทราย มีความชื้นสูงแต่ไม่มีน้ำท่วมขัง ในระดับน้ำทะเล แสงแดดสามารถส่องถึงได้ตลอดทั้งวัน ในบริเวณดังกล่าว ยังมีพื้นที่ต่ำกว่า และมีน้ำท่วมขังเราได้พบ N. mirabilis รวมทั้งลูกผสมของ N. kampotiana x N. mirabilis อีกด้วย 

Picture 020  Picture 021

ลูกผสมสามารถแยกความแตกต่างได้ง่าย ที่ใบ โดยลูกผสมจะมีใบกว้าง มีก้านใบ และโคนใบที่โอบลำต้นจะไม่ยืดยาวตามข้อมากนัก นอกจากนั้นยังมีเส้นใบแนวยาวเด่นชัด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ N. mirabilis แต่ใบก็จะแคบกว่า N. mirabilis เช่นเดียวกัน

 Picture 025 Picture 031

Picture 022 Picture 026 Picture 030

หม้อของลูกผสมชนิดนี้ก็จะเป็นทรงกระบอกมากกว่า N. kampotiana และไม่ค่อยมีจุดประ ขอบปากหม้อหนากว่าและค่อนข้างแบน บริเวณที่ขอบปากหม้อมาประกบกัน คอจะไม่ยกขึ้นสูงมากนัก ซึ่งเป็นลักษณะของ N. mirabilis

 

ดังที่กล่าวไปแล้ว เมล็ดในบริเวณนี้จึงอาจเป็นได้ทั้ง N. kampotiana ล้วนหรือลูกผสมระหว่าง N. kampotiana x N. mirabilis ก็ได้ จึงไม่มีการเก็บเมล็ดนำมาเพาะ เพราะไม่แน่ใจว่าจะได้ลูกไม้ออกมาอย่างไร

 

หลังจากจุดดังกล่าว พวกเราพยายามหาทางขึ้นไปบนเขา ซึ่งมาร์ซี ได้พบตัวอย่าง ที่หอพรรณไม้ ว่ามีตัวอย่างมาจากบนเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 120 ม. อยู่ด้วย เพื่อสำรวจว่า N. kampotiana ยังพบได้บริเวณที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลจริงหรือไม่ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะจะมีฐานของทหารพรานที่ทำหน้าที่ป้องกันประเทศอยู่ เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่แคบ ซึ่งติดกับชายแดน ทหารบอกว่า ไม่สามารถให้ผ่านได้เพราะแค่ข้ามเขาไปก็ไปฝั่งเขมรแล้ว ซึ่งมีกับระเบิดที่ยังไม่ได้เก็บกู้ด้วย ถือเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ และอันตรายมาก เราจึงสอบถามทหารว่า ระหว่างการลาดตระเวน มีใครเคยพบต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงบนเขาบ้างหรือไม่ ก็ได้คำตอบว่า มี โดยทหารดังกล่าว ชี้ให้พวกเราเห็นหม้อข้าวหม้อแกงลิง N. kampotiana 2 กระถาง ที่ทหารเก็บมาเลี้ยงจากป่าบนเขา ทำให้เราทราบว่า ชนิดนี้นอกจากจะอยู่ที่ระดับน้ำทะเลแล้ว ยังสามารถขึ้นบนยอดเขาที่เป็นที่ราบได้อีกด้วย ทั้งยังปลอดภัยจากการถูกพวกลักลอบหาของป่า เก็บมาขาย จึงนับว่าเป็นความมั่นคงระดับชาติ ที่จะรักษาพืชชนิดนี้ให้มีอยู่มากตามป่าเขา ไม่ให้สูญพันธุ์ไปเช่นเดียวกับบริเวณพื้นล่าง

โพสท์ใน หม้อข้าวหม้อแกงลิงในธรรมชาติ | ใส่ความเห็น